บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) และกระแสสลับ(AC) แตกต่างกันอย่างไร?

LINEで送る

ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) และกระแสสลับ(AC) แตกต่างกันอย่างไร?

การทำความรู้จักหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานเลยทีเดียวก็ว่าได้ เพราะเป็นหัวใจหลักในการเลือกซื้อเครื่องมือวัดไฟ หรือเลือกฟังก์ชั่นในการใช้งานเครื่องมือวัดไฟนั้นเอง..

ซึ่งอย่างที่เราทุกคนเข้าใจกันดีว่าในประเทศไทยของเรา อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างที่ทำออกมา รองรับ การใช้งานกับไฟบ้านหรือกับไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)  ซึ่งมีค่าแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 220 โวล์ ส่วนไฟฟ้าที่อยู่ในพวกแผงวงจร หรือไฟฟ้าที่มาจากถ่านไฟฉายนั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC) นั้นเอง

ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) คือ

ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าไปในทางกลับกัน คือกระแสไฟจะไม่มีขั้วไฟฟ้าว่าเป็นขั่วบวกหรือขั่วลบ และจะมีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา โดยอัตราการเปลี่ยนทิศทางนี้เราเรียกว่าความถี่ของไฟกระแสสลับ มีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ท(Hz) ซึ่งก็คือจำนวนรอบคลื่นต่อ หนึ่งวินาที (ไฟบ้าน ในประเทศไทยใช้ความถี่ 50Hz) และภาพลักษณะการไหลเราจะเรียกกันว่า Sine Wave นั้นเอง ดังภาพด้านล่างครับ

ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) คือ

ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แล้วไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ภาพด้านล่างเป็นภาพลักษณะรูปคลื่นไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง

ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current)

ทำไมไฟบ้าน เราจึงใช้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

สาเหตุที่ไฟฟ้าตามบ้านส่งแบบกระแสสลับ (AC) ประเด็นหลักๆ ก็มีอยู่สองข้อใหญ่ครับ

(1) ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) นั้นส่งได้ไกลกว่า ไฟฟ้ากระแสตรง(DC)มาก เนื่องจากเวลาส่งกระแสไฟฟ้ามาตามสายไฟ ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC) ก็ทำให้แรงเคลื่อนสูงมากไม่ได้ ต้องเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต่ำ ทำให้ต้องส่งกระแสไฟฟ้าที่มาก เมื่อส่งกระแสที่มากก็จะมีค่าการสูญเสียพลังงานไปตามสายส่งไฟฟ้ามากด้วย

แต่ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) เขาจะแปลงกระแสไฟ ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงก่อนที่จะส่งมาตามบ้านเรือน (ที่เราเห็นเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ทั่วไปนั้นเอง) แล้วมาลดกลับที่ปลายทางโดยผ่านหม้อแปลง (Transformer)  แต่หากเป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC) จะไม่สามารถทำได้โดยง่ายครับ

(2) ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) นั้น สามารถแปลงแรงดันให้มากขึ้น หรือลดต่ำลงได้ โดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) ซึ่งในการแปลงแรงดันนี้ถ้าเป็นไฟกระแสตรง(DC) จะยุ่งยากมาก

สรุปประโยชน์และการนำไปใช้งานของไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิด

คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)

(1) สามารถส่งไปในที่ไกลๆได้ดี กำลังไม่ตก
(2) สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง(Transformer)

ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)

(1) ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี
(2) ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย
(3) ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมากๆ
(4) ใช้กับเครื่องเชื่อม
(5) ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด

คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง(DC)

(1) กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด
(2) มีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ
(3) สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้

ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง(DC)

(1) ใช้ในการชุบโลหะต่างๆ
(2) ใช้ในการทดลองทางเคมี
(3) ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก
(4) ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
(5) ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
(6) ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
(7) ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย


 

สินค้าที่แนะนำด้านงานเครื่องวัดไฟฟ้า

Hioki 3287/3288 Series แคลมป์มิเตอร์ AC/DC Current, AC/DC Voltage HiTESTER

Hioki 3287/3288 Series แคลมป์มิเตอร์ AC/DC Current, AC/DC Voltage HiTESTER
แคลมป์มิเตอร์ สำหรับ AC/DC HiTESTER
วัดค่ากระแสไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCA) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACA)
แคลมป์แบบบางพิเศษเพียง 10mm. | Dual Action Jaw ขนาด ø35mm.

Hioki CM4000 Series แคลมป์มิเตอร์ AC/DC Current (True RMS)

Hioki CM4000 Series แคลมป์มิเตอร์ AC/DC Current (True RMS)
Hioki CM4000 series แคลมป์มิเตอร์ High Performance
วัดค่ากระแสไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCA) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACA)

Hioki DT4200 Pocket Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (True RMS)

Hioki DT4200 Pocket Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (True RMS)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพารุ่น Pocket Series
วัดค่าแรงดันไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCV) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACV)

Hioki DT4200 Standard Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (True RMS)

Hioki DT4200 Standard Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (True RMS)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพารุ่น Standard Series
วัดค่าแรงดันไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCV) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACV)
ระดับมืออาชีพในงานอุตสาหกรรม มีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็ว

 



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

Related articles

  • เครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้า รุ่น DW-6092SD , DW-6093SD และ DW-6095SD ต่างกันอย่างไรเครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้า รุ่น DW-6092SD , DW-6093SD และ DW-6095SD ต่างกันอย่างไร (0)
    เครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้า รุ่น DW-6092SD , DW-6093SD และ DW-6095SD ยี่ห้อ Lutron จากประเทศใต้หวัน ออกแบบมาเพื่อวัดค่าทางไฟฟ้า เช่น เเรงดัน (Voltage) กระเเส (Current) กำลังไฟฟ้า (Power) หรือ ความถี่ (Frequency) ตัวเครื่องรองรับการวัดไฟ 1p/2w,1p/3w,3p/3w,3p/4w เเละสามารถเก็บบันทึกข้อมูลผ่าน SD […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • รีวิวการใช้งานเครื่อง Power Meter PW3335 และ Software PWCรีวิวการใช้งานเครื่อง Power Meter PW3335 และ Software PWC (0)
    อุตหสากรรมในประเทศที่กำลังพัฒนา มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือวัดค่าพลังงานที่มีความปลอดภัยสูง และมีความสะดวกในการดำเนินงาน Power Meter PW3335 จึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่จะสามารถวัดเเละวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • ปัญหาเรื่องคุณภาพของกำลังไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์การแพทย์ปัญหาเรื่องคุณภาพของกำลังไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์การแพทย์ (0)
    การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าแบบต่างๆ เช่น กระเเสไฟฟ้ารั่วและความต้านทานฉนวน ได้ดำเนินการขึ้นบนอุปกรณ์การเเพทย์เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งานอย่างปลอดภัยนั้นเกิดขึ้นๆได้จริงตามมาตรฐาน EN60601 ( อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าทางการแพทย์ ) คุณภาพของกำลังไฟฟ้าที่จ่ายไปยังโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • Memory HiCorder คืออะไร และแตกต่างจาก Oscilloscope อย่างไรMemory HiCorder คืออะไร และแตกต่างจาก Oscilloscope อย่างไร (0)
    Memory HiCorder คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดและแสดงผลกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประมวลผลข้อมูลและแสดงผลบนหน้าจอ และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์หรือจัดเก็บได้ในรูปแบบดิจิทัลเช่นกันกับ Digital Oscilloscope แต่มีคุณลักษณะพิเศษของเครื่อง Memory Hicorder […] Posted in News and Event
  • ไฟ 110v กับ 220v ต่างกันอย่างไรไฟ 110v กับ 220v ต่างกันอย่างไร (0)
    สงสัยกันมั้ยครับว่า เพราะเหตุใดต่างประเทศข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคต่างๆ ถึงใช้ไฟ 110 โวลต์ แล้วทำไมประเทศไทยถึงไม่ใช้ไฟอย่างประเทศเหล่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัสอเมริกา แคนาดา และ เกาหลี(รองรับ 110/220 v) เป็นต้น จริงๆแล้วประเทศไทยเคยใช้ไฟ 110 […] Posted in เครื่องวัดไฟ, News and Event
  • อันตรายจากไฟฟ้าอันตรายจากไฟฟ้า (0)
    ในปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับระบบไฟฟ้าอย่างมากมาย ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในเเต่ละวันจะไม่มีการใช้ไฟฟ้าเลย การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าย่อมมีอันตรายแอบแฝงอยู่เสมอ จึงต้องเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอย่างถูกต้อง อันตรายจากไฟฟ้ามี 2 […] Posted in เครื่องวัดไฟ